วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติและวนอุทยาน ในประเทศไทย

อุทยานแห่งชาติและวนอุทยาน : ภาคเหนือ
จังหวัดน่าน
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน อุทยานแห่งชาติขุนน่าน อุทยานแห่งชาติแม่จริม อุทยานแห่งชาตินันทบุรี อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
จังหวัดแพร่ อุทยานแห่งชาตลำน้ำน่าน อุทยานแห่งชาติแม่ยม อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย วนอุทยานแพะเมืองผี
จังหวัดพะเยา อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง อุทยานแห่งชาติภูซาง อุทยานแห่งชาติแม่ปืม วนอุทยานดอยภูลังกา
จังหวัดตาก อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ อุทยานแห่งชาติแม่เมย อุทยานแห่งชาติลานสา อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ
จังหวัดกำแพงเพชร อุทยานแห่งชาติคลองลาน อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ อุทยานแห่งชาติแม่เงา อุทยานแห่งชาติสาละวิน วนอุทยานทุ่งบัวตอง วนอุทยานแก้วโกมล วนอุทยานน้ำตกแม่สวรรค์น้อย วนอุทยานผาหินตั้ง
จังหวัดพิษณุโลก อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระกา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
จังหวัดอุตรดิตถ์ อุทยานแห่งชาติคลองตรอน อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
จังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติออบขาน อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง อุทยานแห่งชาติเชียงดาว อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา อุทยานแห่งชาติศรีล้านนา อุทยานแห่งชาติแม่โถ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อุทยานแห่งชาติออบหลวง อุทยานแห่งชาติขุนขาน
จังหวัดเชียงราย อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานแห่งชาติขุนแจง วนอุทยานภูชี้ฟ้า วนอุทยานน้ำตกห้วยแม่สัก วนอุทยานน้ำตกหัวแม่คำ วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกแม่โท วนอุทยานน้ำตกตาดควัน วนอุทยานพญาพิภักดิ์ วนอุทยานโป่งพระบาท วนอุทยานสันผาพญาไพร วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อน
อุทยานแห่งชาติและวนอุทยาน : ภาคกลาง - ตะวันออก
จังหวัดกาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ อุทยานแห่งชาติเขาแหลม อุทยานแห่งชาติคลองลำงู อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ อุทยานแห่งชาติไทรโยค อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
จังหวัดสระแก้ว อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา
จังหวัดอุทัยธานี วนอุทยานถ้ำเขาวง
จังหวัดสุพรรณบุรี อุทยานแห่งชาติพุเตย วนอุทยานพุม่วง
อุทยานแห่งชาติและวนอุทยาน : ภาคอีสาน
จังหวัดนครราชสีมา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
จังหวัดนครพนม อุทยานแห่งชาติภูลังกา
จังหวัดเลย อุทยานแห่งชาตินาแห้ง อุทยานแห่งชาติภูเรือ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
จังหวัดชัยภูมิ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อุทยานแห่งชาติภูแลนคา อุทยานแห่งชาติตาดโตน อุทยานแห่งชาติไทรทอง
จังหวัดขอนแก่น อุทยานแห่งชาติน้ำพอง อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อุทยานแห่งชาติภูเวียง
อุทยานแห่งชาติและวนอุทยาน : ภาคใต้
จังหวัดระนอง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว
จังหวัดพังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
จังหวัดกระบี่ อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา อุทยานฯหาดนพรัตน์ธารา-เกาะพีพี อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี อุทยานแห่งชาติเกาะลันตา
จังหวัดนครศรีธรรมราช อุทยานแห่งชาติเขานัน อุทยานแห่งชาติเขาหลวง อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง อุทยานน้ำตกสีขิด

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีการแก้ไขปัญหาป่าไม้ด้วยการปลูกป่าคืออะไร

นอกจากนี้กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้บริษัททำไม้จังหวัด ฯลฯ ได้ปลูกสวนป่าตั้งแต่ต้นจนถึงปี 2526 ได้ประมาณ 3 ล้านไร่ โครงการป่าชุมชนที่ส่งเสริมให้ราษฎรและชาวไร่ปลูกป่าในที่รกร้างว่าเปล่าหรือที่หัว ไร่ปลายนา เมื่อดำเนินการเต็มรูปแล้วปัญหาเรื่องการขาดแคลนไม้ ไม้ฟืนและไม้ใช้สอยก็จะบรรเทาเบาบางลงได้ อย่างไรก็ดี การที่จะป้องกันรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติล้ำค่าของเรานั้น จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยราชการและประชาชนทุกฝ่าย มิฉะนั้น ป่าไม้จะต้องหมดไปจากประเทศไทยอย่างไม่มีปัญหา การให้การศึกษาอบรมแก่เยาวชนทุกระดับชั้น เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า ทุกประเภท โดยกำหนดเป็นหลักสูตรการศึกษานับตั้งแต่ชั้นประถมขึ้นไปจน ถึงระดับมหาวิทยาลัย และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสไปเห็นหรือสัมผัสของจริงหรือฝึกงานในภูมิประเทศจึงจะเกิดความประทับใจขึ้นอย่างจริงจัง สื่อมวลชนอันได้แก่หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจาย เสียง และวิทยุ โทรทัศน์นับว่ามีบทบาทสำคัญมากที่จะช่วยทำให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและให้ความร่วมมือกับรัฐในการอนุรักษ์ยิ่งขึ้น
นอกเหนือจากมาตรการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่กระทรวงต่าง ๆ ถือปฏิบัติอยู่ให้สอดคล้องไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายจะสงวนและรักษาป่าไม้ไว้ให้ได้ร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ ส่วนกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายจะเปิดที่ป่าไม้เพื่อให้ราษฎรทำกิน
กระทรวงคมนาคม ตัดเส้นทางผ่านป่าไม้ที่สมบูรณ์ โดยมิได้วางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำให้ป่าไม้สองข้างทาง คมนาคมถูกบุกรุกทำลายอย่างรุนแรงเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะปลูก กระทรวงอุตสาหกรรม อนุญาตให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากพืชผลทางการเกษตร เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล โดยมิ ได้ประสานงานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ป่าที่สมบูรณ์จึงถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อยเป็นจำนวนมาก

พรรณไม้พระราชทาน


ดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานชื่อไว้หลายชนิด ได้แก่ ดุสิตา อยู่ในวงศ์ LENTIBULARIACEAE เป็นไม้ล้มลุก กินแมลง อายุปีเดียว ขึ้นเป็นกอ สูง ๑๐-๒๐ เซ็นติเมตร ดอกสีม่วงเข้ม พบในประเทศอินเดีย ออสเตรเลีย และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบตามพื้นที่โล่งชุ่มชื้นในภาคอีสานตอนบน มณีเทวา อยู่ในวงศ์ ERIOCAULACEAE เป็นไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอคล้ายหญ้า สูง ๒-๖ เซ็นติเมตร ดอกสีขาวออกเป็นช่อ ลักษณะเป็นก้อนกลมที่ปลายยอด ขึ้นตามพื้นที่โล่งและชุ่มชื้นหรือชายป่าโปร่ง ในภาคตะวันออกและภาคอีสานตอนบนของไทย

สร้อยสุวรรณา อยู่ในวงศ์ LENTIBULARIACEAE เป็นไม้ล้มลุก กินแมลง ขึ้นเป็นกอเล็ก ๆ สูง ๑๐-๑๕ เซ็นติเมตร ดอกสีเหลือง พบในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ ในประเทศไทยพบตามพื้นที่โล่งและชุ่มชื้นในภาคอีสานตอนบน

ทิพเกสร อยู่ในวงศ์ LENTIBULARIACEAE เป็นไม้ล้มลุก กินแมลง สูง ๑๐-๓๐ เซ็นติเมตร ลำต้นเล็กมาก มีใบเดี่ยวที่เปลี่ยนเป็นถุงสำหรับดักจับแมลงเป็นอาหาร ดอกสีม่วงอ่อนอมชมพู พบในประเทศอินเดีย ออสเตรเลียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบตามบริเวณพื้นที่โล่งชุ่มชื้นในภาคอีสานตอนบน

สรัสจันทร อยู่ในวงศ์ BURMANNIACEAE เป็นไม้ล้มลุก สูง ๑๐-๓๐ เซ็นติเมตร ลำต้นเล็กเรียวดอกสีชมพูถึงม่วงอ่อนอมฟ้า ส่วนปลายมีสีเหลืองหรือครีม ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ๑-๓ ดอก พบตามบริเวณทุ่งหญ้าริมหนองน้ำ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ

นิมมานรดี เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพรรณไม้ที่บริเวณโคกนกกะบาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ ออกดอกเป็นช่อยาว ๑๒-๑๕ เซ็นติเมตร ก้านดอกมีขนนุ่มสีเขียว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว มีขีดตามยาวสีแดงเข้มปลายกลับปากมีพื้นสีเหลืองเข้ม และแต้มสีแดงเข้มที่โคนกลีบ พบในอินเดียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ดอกไม้อีกชนิดที่ควรกล่าวถึง คือ บังหลวงพันธุ์ดอกซ้อน ทรงป้อม สีชมพูเรียกว่า สัตตบงกช สีขาวเรียกว่า สัตตบุษย์ เป็นดอกไม้ที่สมเด้จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดมาก ทรงปักแจกันถวายพระด้วยพระองค์เองเป็นประจำ รับสั่งว่า “เป็นดอกไม้ที่สวยที่สุดไม้ฝรั่งเทียบไม่ได้” < ย้อนกลับ ถัดไป >
ที่มา : http://www.belovedqueen.com/index.php/2009-07-09-06-09-36/2009-07-09-06-11-14/18-2009-07-06-08-47-10.html

โครงการ ปลูกป่า รักษาแหล่งน้ำ

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

"ป่าชุมชน" : คนอยู่กับป่าได้...จริงๆหรือ ?


ป่าไม้ กับ คน (ชุมชน) ในสังคมชนบทไทยมีความผูกพันกันมานมนาน ชาวบ้านต่างได้พึ่งพาอาศัยป่าในการดำรงชีวิต ทั้งยังมีความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงชุมชนกับป่า เช่น ความเชื่อเรื่องผีป่าที่ดูแลป่าต้นน้ำ ก็เป็นการจัดระเบียบการใช้ป่ากันเองของชุมชน ต่อมา เมื่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม พืชพาณิชย์ การสัมปทานไม้ โครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐ เช่น การสร้างเขื่อน รวมทั้งชุมชนบางชุมชนที่ทำไร่บนพื้นที่สูง บุกรุกป่าเพื่อเปิดพื้นที่ทำกิน ก็เป็นผู้ทำลายป่าเสียเอง ทำให้ป่าถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ป่าไม้ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง หรือบางครั้งก็ปล่อยปละละเลยที่จะดูแล ด้วยเหตุนี้ชุมชนต่างๆ ที่เป็นผู้ใช้ป่าจึงดำเนินการรักษาและอนุรักษ์ป่าเอง
การที่ชุมชนตั้งกฎเกณฑ์ วิธีการ และกลไกการควบคุมบังคับในการใช้ป่า แต่ก็สามารถบังคับใช้กับคนในชุมชนเท่านั้น ไม่สามารถบังคับคนภายนอกได้ อีกทั้งการตัดไม้ ทำลายป่าก็มักเกิดจากการจ้างชาวบ้านโดยกลุ่มทุนใหญ่ ดังนั้นรัฐจึงแก้ปัญหาด้วยประกาศพื้นที่ป่าต่างๆ เป็นอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์ป่า แล้วบังคับให้คนออกจากป่า ถูกกีดกันไม่ให้มีสิทธิจัดการป่า ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเดิมได้แล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นเพิ่ม เช่น ความยากจนในชุมชนที่พึ่งพาป่า เพราะไม่สามารถใช้ทรัพยากรได้ การทำลายป่าไม้ที่แท้จริงซับซ้อนกว่าการบุกรุกของชาวบ้านเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการจัดการป่าได้จึงควรจะเกิดขึ้น และต้องมีกฎหมายรองรับสิทธิการจัดการป่าของชาวบ้าน ให้มีสถานะทางกฎหมาย และต้องสร้างกลไกให้เจ้าหน้าที่รัฐ และภาคสังคมเข้าไปมีส่วนร่วม สนับสนุน ตรวจสอบได้ จึงเป็นที่มาของ "พระราชบัญญัติป่าชุมชน" ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 3 วาระ รอเพียงการพิจารณาของวุฒิสภาเท่านั้น
ความขัดแย้งในการจัดการป่าซับซ้อนขึ้นอีก เมื่อรัฐ, องค์กรอนุรักษ์และชนชั้นกลางในสังคมส่วนหนึ่ง ต้องให้มี "เขตป่าปลอดมนุษย์" ในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่ต้องปกป้องรักษาไว้ให้เป็นพื้นที่สีเขียวปราศจากการรบกวนทั้งสิ้น ซึ่งต้องมีการอพยพชุมชนที่อยู่มาแต่ก่อนออกจากเขตป่านั้น เพราะถูกมองว่าเป็นภัยต่อทรัพยากรของชาติ
"การจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในปัจจุบันยังมาสามารถหยุดยั้งการทำลายป่าได้ ยังคงพบการทำลายป่าด้วยวิธีการต่างๆ เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นภัยที่มาจากคนยู่นอกป่า มากกว่าคนในป่า ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการจัดการ มีกรมป่าไม้รับผิดชอบอยู่หน่วยงานเดียวดูแลไม่ทั่วถึง ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนเป็นการจัดการเชิงซ้อน ให้มีการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม อีกประการหนึ่งพื้นที่อนุรักษ์ที่ราชการประกาศนั้น ล้วนแต่มีชุมชนท้องถิ่นตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้วทั้งสิ้น การปิดกั้น การจำกัดสิทธิต่างๆ ด้วยการข่มขู่ ส่งผลในทางตรงข้าม เป็นการผลักดันชุมชนให้จนตรอก และหันไปใช้ประโยชน์จากป่าอย่างทำลาย" ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
"…อีกประการหนึ่งที่ผมรู้สึกน้อยใจมาก ที่ทางพี่น้องตอนกลาง ในกรุงเทพหรือตอนล่างบอกว่า ท่านเป็นเจ้าของส่วนหนึ่ง นั้นคือ ป่ามหาชน ป่าเป็นของทุกคน ใช่.. แต่ผมถามท่านตรงนี้ ป่ามหาชนจริงๆ เมื่ออดีตมันอยู่ตรงไหนมันมีทั่วไปในประเทศไทย แม้ที่เรานั่งตรงนี้ผมเชื่อว่ามันก็เป็นป่า แต่วันนี้มันไม่มีแล้ว มันเป็นตึก เป็นอาคาร แต่ท่านก็ไปเรียกร้องว่าป่าเป็นของมหาชน ถ้าท่านอยากได้ป่าเป็นมหาชน พวกผมคนอยู่บนเขาภาคเหนือ ขอเรียกร้องบ้าง ผมขอเมืองกรุงเทพเป็นของมหาชนได้ไหม ผมขอทุ่งนาแถวอยุธยา แถวสิงห์บุรี เป็นของมหาชนได้ไหม พวกผมจะพากันลงมาอยู่ ผมยกตัวอย่างว่าประเทศไทยมีเงิน 100 บาท แบ่งให้ลูก 3 คน คนหนึ่งอยู่กรุงเทพ คนหนึ่งอยู่เชียงใหม่ คนหนึ่งอยู่บนยอดเขา แต่สองที่อยู่กรุงเทพ-เชียงใหม่ใช้เงินไปหมดแล้ว เหลือแค่ที่คนชาวเขาอยู่ 30 บาท แต่ท่านก็บอกว่า 30 บาทนั้นเป็นของ 3 คนนั้น จะต้องใช้ร่วมกัน ดูแลร่วมกัน แล้วความเป็นธรรมมันอยู่ตรงไหน..." กำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน (ประธานป่าชุมชนภาคเหนือ)
"…ป่าอนุรักษ์เดี๋ยวนี้ ก็คือป่าศักดิ์สิทธิ์เมื่อก่อน ที่ไม่มีใครแตะต้อง แต่เดี๋ยวเปลี่ยนไปเป็นไร่กะหล่ำปลี ผลกระทบที่ตามมาก็คือน้ำแห้งมีแต่ทราย ฝ่ายต่างๆ อ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่เสียเงินสร้างมากมายในการสร้าง เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง ก็ไม่มีน้ำให้เก็บ นี่คือความสูญเสีย นี่คือข้อเท็จจริง หาว่าเราแย่งทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ใช่..เพราะมันไม่มีให้แย่ง แล้วน้ำมันก็มาจากดอย ไม่ได้มาจากทะเล... บ้านเราเองก็ต้องจัดเป็นสัดส่วน ใครจะเอาห้องพระมาเป็นห้องครัว พ.ร.บ.นี้เหมือนแกงโฮะ ที่เอากับข้าวทุกอย่างที่เหลือๆ มารวมกัน อย่าลืมว่าแกงโฮะนี่กินได้มื้อเดียวนะครับ ถ้าขืนให้ พ.ร.บ.แกงโฮะนี้ออกมา ผมว่าอนาคตป่าไม้ในประเทศไทยหายนะแน่ๆ จะแก้ไขเรื่องนี้ต้องแก้ให้ถูกจุด ไม่ใช่แก้โดยออก พ.ร.บ.ป่าชุมชน เราก็เห็นกันอยู่แล้วว่าเขาเป็นนักทำลายป่า ทุกวันนี้ไม่มีใครปลูกไม้ไว้ใช้ตามที่อ้างหรอก แต่ใช้ไม้ตามธรรมชาติทั้งนั้น แล้วจะเสี่ยงให้เขาดูแลหรือครับ คนพวกนี้ก้าวก่ายสิทธิคนพื้นราบอย่างยิ่ง ผมเลยต้องคัดค้านอย่างเต็มที่" อาจารย์ประพัฒน์ เรือนคำฟู ประธานสมาพันธ์อนุรักษ์ป่าต้นน้ำภาคเหนือ
ข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งของ พ.ร.บ ฉบับนี้ก็คือที่มาของคณะกรรมการป่าชุมชนทั้งระดับชาติ หรือระดับจังหวัด ซึ่งมีอัตราส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ มากกว่าชาวบ้าน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน แล้วอำนาจการดูแลป่า การจัดการป่า จะตกถือมือประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือเป็นการหมกเม็ด เก็บอำนาจให้อยู่กับกรมป่าไม้ เพื่อผลประโยชน์ใดๆ
ที่มา : http://thaingo.org/story/forest.html